คำแนะนำวิธีการใช้งาน

 

 

ฐานข้อมูลของกรมโรงงาน

จาก ฐานข้อมูลจำนวนมากกว่า 5,000 โรงงาน ของกรมโรงงาน และ โดยการทำระบบจำลองการประมวลผลข้อมูล (Data Visualization ) ในปี 2566 พบว่า

  • ในระดับประเทศส่วนใหญ่ผู้ประกอบการจะมีการลงทุนใน Size M คือ มีการลงทุนโดยมีการจดทะเบียนอยู่ในช่วง ไม่เกิน 200 ล้านบาท มากถึง 4,718 ราย 
  • หากเจาะลึกไปในจำนวนแรงม้า ซึ่งเป็นตัวบ่งบอกถึงการผลิตในแต่ละส่วน จะไปอยู่ในส่วนของ โรงหลอมเม็ดพลาสติก และขึ้นรูป โดยกระจุกตัวอยู่ในภาคกลางและภาคตะวันออกเป็นหลัก นั่นคือ การกระจุกตัวใน 2 ภาคนี้ เป็นปัญหาที่ทำให้ Recycle Rate ของไทย ยังอยู่ในระดับต่ำ ไม่เกิน 20% เนื่องจากตลาดการขึ้นรูปและแปรรูป อยู่ในบริเวณดังกล่าว ไม่กระจายตัวไปในภาคอื่นๆ 

ฐานข้อมูลจากการสำรวจ

  • สถานการณ์ปริมาณขยะในประเทศแยกตามจังหวัด การแสดงแผนภาพ visualization ปริมาณขยะใหม่ (ตันต่อวัน) และขยะที่ถูกนำกลับไปใช้ใหม่ จำแนกตามภาค และจังหวัด แสดงให้เห็นถึงการกระจุกตัวของปริมาณขยะส่วนใหญ่ที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร และอัตราการนำขยะมูลฝอยเข้ากระบวนการรีไซเคิลเพื่อนำกลับไปใช้ใหม่ ยังมีปริมาณที่น้อยเมื่อเทียบกับขยะมูลฝอยใหม่ที่เกิดขึ้น 

 

  • สัดส่วนเศษพลาสติกแยกตาม factory class Visualization แผงควบคุมแสดงข้อมูลสัดส่วนปริมาณเศษพลาสติก จำแนกตามภาคและจำแนกตาม factory class แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการรวบรวมและคัดแยกเศษ (105) มีสัดส่วนปริมาณเศษพลาสติกมากที่สุด (ประมาณ 64% ของประเทศ) ในขณะที่โรงงานล้าง บดย่อยพลาสติกในภาคตะวันออกมีสัดส่วนปริมาณเศษพลาสติกมากที่สุด (ประมาณ 50% ของประเทศ) ในขณะที่โรงงานขึ้นรูปพลาสติกมีสัดส่วนปริมาณพลาสติกมากที่สุด (ประมาณ 58% ของประเทศ) ข้อมูลนี้แสดงให้เห็นว่ามีการเคลื่อนตัวของเศษพลาสติกนั้นถูกเก็บรวบรวมในภาคกลาง จากนั้นถูกขนส่งไปบดย่อยในภาคตะวันออกและผลิตออกมาเป็นเม็ดพลาสติกรีไซเคิล หลังจากนั้นจึงถูกซื้อนำไปขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ในภาคกลาง

 

  • สัดส่วนผู้ประกอบการแยกตาม factory class Dashboard แสดงสัดส่วนจำนวนผู้ประกอบการ จำแนกตามภาคและประเภทโรงงาน (Factory class) จากข้อมูลการสำรวจ

 

  • แนวโน้มปริมาณเศษพลาสติก / Recycled Plastic ที่ประเมินโดยผู้ประกอบการ จากการสำรวจผู้ประกอบการพลาสติกรีไซเคิลจำนวนมากกว่า 800 ราย มีการประเมินแนวโน้มปริมาณเศษพลาสติก จำแนกตาม factory class และจำแนกตามภูมิภาค พบว่าผู้ประกอบการในทุก factory class ในภาคกลางและภาคตะวันออกเห็นคล้องกันว่ามีแนวโน้มปริมาณเศษพลาสติกเพิ่มมากขึ้นอย่างชัดเจน  

 

  • สัดส่วนประเภทพลาสติก PET PE PP และอื่นๆ จำแนกตาม factory class จากการสำรวจผู้ประกอบการเพื่อเก็บข้อมูลสัดส่วนปริมาณพลาสติกแต่ละประเภท PET PE PP และ อื่นๆ พบว่ามีการกระจายตัวที่ค่อนข้างใกล้เคียงกันในแต่ละ factory class

 

  • มาตรฐาน management certificate ของผู้ประกอบการ จำแนกตามภูมิภาค Dashboard แสดงการกระจายตัวของจำนวนผู้ประกอบการที่ได้รับ management certificate ประเภทต่างๆ จะเห็นว่าส่วนใหญ่อยู่ในระดับ ISO 9001 สำหรับมาตรฐานอื่นๆที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ยังมีไม่มาก เช่น ISO 14001 และ Green Industry  

 

 

 

Disclaimer

 

สงวนลิขสิทธิ์ (All rights reserved) โดย  Plastic Institute of Thailand & NP Pointasia Co.,Ltd.


ระบบประมวลผลข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์และคาดการแนวโน้มอุตสาหกรรมพลาสติกรีไซเคิล (Plastics Recycle Data Analytics and Visualization) นี้อยู่ภายใต้โครงการพัฒนาระบบศูนย์กลางข้อมูลอุตสาหกรรมพลาสติกรีไซเคิลและแพลตฟอร์มธุรกิจซื้อขายพลาสติกรีไซเคิล ซึ่งคณะทำงานฯ ได้จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลสถานการณ์ต่างๆ ในอุตสาหกรรมพลาสติกรีไซเคิล โดยผ่านกระบวนการการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลขั้นปฐมภูมิจากการสำรวจผู้ประกอบการ และข้อมูลทุติยภูมิจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือนำมาแสดงผลผ่านระบบ Data Visualization เพื่อให้เกิดความสะดวกต่อผู้ใช้ข้อมูล ทั้งนี้ คณะทำงานฯ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือส่วนได้ส่วนเสียกับแหล่งข้อมูลข้างต้น จึงขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียหรือเสียหายใด ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ที่เกี่ยวเนื่องหรือเป็นผลสืบเนื่องจากนำข้อมูลทั้งหมดนี้ไปใช้งาน

 

อุตาหกรรมพัฒนามูลนิธิ สถาบันพลาสติก

อาคารกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

86/6 ซอยตรีมิตร แขวงพระโขนง เขตคลองเตย

กรุงเทพ 10110

โทรศัพท์ :  02-3915340-43

โทรสาร :  02-712 3341

 

 

      

 

แผนที่